วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

โปรแกรม HT Video Editor

ส่วนที่ 1 แนะนำการใช้งานโปรแกรม
ส่วนที่ 2 ส่วนประกอบของโปรแกรม
ส่วนที่ 3 การสร้างวิดีโอจากภาพนิ่ง
ส่วนที่ 4 การนำไฟล์วิดีโอมาตกแต่ง หรือตัดต่อใหม่



ส่วนที่ 4

วิธีการตัดต่อและตกแต่งวีดิโอ
1.เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วให้เลือกที่ File > New Project เพื่อสร้างโปรเจ็กใหม่
2.นำเข้าภาพวีดีโอ ที่ต้องการโดยการ Click ที่แท๊ป จากนั้น Click ที่ปุ่ม Add
3.จะปรากฏหน้าต่างOpen ขึ้นมาเพื่อให้เลือกไฟล์ที่ต้องการ หากต้องการไฟล์ประเภทใดสามารถ เลือกประเภทไฟล์ได้ในแทบ Files of type หรือเลือกเป็น All File ก็ได้



รูปที่ 36

4.เลือกไฟล์ที่ต้องการแล้ว Click Open ไฟล์ที่เลือกไว้ก็จะมาแสดงในส่วนของ Input ดังรูปที่ 37



รูปที่ 37
5.หากต้องการลบไฟล์ที่ไม่ต้องการออกจากส่วน Input ให้เลือกที่ไฟล์นั้นแล้ว Click ที่ปุ่ม Del จะปรากฏหน้าต่าง Delete Icon จากนั้นให้ ทำเครื่องหมาย ü ที่ Delete File แล้วตอบ Yes ดังรูปที่ 38



รูปที่ 38

6.ลากไฟล์จากส่วน Input มาใส่ไว้ในส่วนของการออกแบบ ดังรูปที่ 39



รูปที่ 39

7.หากต้องการใส่ Effect ให้กับวิดีโอ ให้เลือก Effect ที่เมนูบาร์ จะปรากฏหน้าต่าง Effect จากนั้นให้ลาก Effect ที่ต้องการมาใส่ทับรูปนั้น และสามารถปรับความเข้มได้ในหน้าต่าง ทางด้านขวามือ ดังรูปที่ 40

รูปที่ 40

8.หากต้องการเพิ่มข้อความลงในวิดีโอ สามารถทำได้โดย เลือกแทบ Title จากนั้นให้ลากรูปแบบอักษรที่ต้องการมาใส่ในช่อง Title จะปรากฏหน้าต่างการตั้งค่าต่างๆทางขวามือ ดังรูปที่ 41

รูปที่ 41

9.จากนั้นให้ Click ที่เครื่องหมาย เพื่อพิมพ์ข้อความที่ต้องการ จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Text Input ให้พิมพ์ข้อความและตั้งค่าต่างๆตามต้องการ เลือกที่ Close เพื่อออกจากหน้าต่าง ดังรูปที่ 42



รูปที่ 42
10.เมื่อจัดวางไฟล์ต่างๆตามต้องการแล้ว หาต้องการดูผลงานก่อนที่จะบันทึก Project ให้ Click ที่ Preview เพื่อทำการเล่นไฟล์
การ Save Project

15.เมื่อได้ Project ตามที่ต้องการแล้ว จะต้องทำการ Save Project เป็นไฟล์ที่สามารถเล่นได้โดยอัตโนมัติ โดยการ เลือก Output ในแทบเมนูบาร์ โดยสามารถเลือกเก็บเป็นไฟล์นามสกุลต่างๆ หรือ Copy ลงบนแผ่นข้อมูลได้ทันที ดังรูปที่ 43



รูปที่ 43

15.1 หากเลือกเป็นแบบ MPEG จะมีการแสดงหน้าต่าง Select MPEG format ดังรูป



รูปที่ 44

เลือก OK จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างดังรูป เพื่อให้เลือกไฟล์หรือโฟล์เดอร์ที่ต้อการจัดเก็บ เลือก SAVE



รูปที่ 45
จากนั้นโปรแกรมก็จะทำการเล่นภาพวิดีโอที่สร้างไว้หนึ่งครั้ง เมื่อทำการบันทึกเมื่อเรียบร้อยแล้วจะมีลักษณะไฟล์ ดังนี้ โดยจะมีนามสกุลเป็น ..MPEG

15.2 หากเลือกเป็นแบบ DV-AVI จะปรากหน้าต่าง HT Video Editor ให้ตอบ Yes ดังรูปที่ 46



รูปที่ 46

จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Select DV-AVI format ตอบ OK



รูปที่ 47

เลือก OK จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างดังรูป เพื่อให้เลือกไฟล์หรือโฟล์เดอร์ที่ต้อการจัดเก็บ เลือก SAVE


รูปที่ 48
จากนั้นโปรแกรมก็จะทำการเล่นภาพวิดีโอที่สร้างไว้หนึ่งครั้ง เมื่อทำการบันทึกเมื่อเรียบร้อยแล้วจะมีลักษณะไฟล์ ดังนี้ โดยจะมีนามสกุลเป็น DV-AVI

15.3 หากเลือกเป็นแบบ AVI จะปรากฏหน้าต่าง Select AVI Format ตอบ OK ดังรูป



รูปที่ 49

จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Save AS ดังรูป เพื่อให้เลือกไฟล์หรือโฟล์เดอร์ที่ต้อการจัดเก็บ เลือก SAVE


รูปที่ 50
จากนั้นโปรแกรมก็จะทำการเล่นภาพวิดีโอที่สร้างไว้หนึ่งครั้ง เมื่อทำการบันทึกเมื่อเรียบร้อยแล้วจะมีลักษณะไฟล์ ดังนี้ โดยจะมีนามสกุลเป็น AVI

15.4 หากเลือกเป็นแบบ wmv จะปรากฏหน้าต่าง HT Video Editor 6.1 จากนั้นตอบ Yes ดังรูป



รูปที่ 51

จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Select WMV Profile ตอบ OK



รูปที่ 52

จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Save AS ดังรูป เพื่อให้เลือกไฟล์หรือโฟล์เดอร์ที่ต้อการจัดเก็บ เลือก SAVE



รูปที่ 53
จากนั้นโปรแกรมก็จะทำการเล่นภาพวิดีโอที่สร้างไว้หนึ่งครั้ง เมื่อทำการบันทึกเมื่อเรียบร้อยแล้วจะมีลักษณะไฟล์ ดังนี้ โดยจะมีนามสกุลเป็น WMV













































































































































วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย

มัลติมีเดียหรือสื่อประสม เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงข้อความเสียง และภาพ ซึ่งอาจจะเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวได้พร้อมๆ กัน ถ้าอธิบายเพียงแค่นี้ก็คงนึกว่า มัลติมีเดีย ก็คงไม่แตกต่างไปจากเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งก็สามารถแสดงข้อความ เสียง และภาพได้พร้อมๆ กัน ความแตกต่างจึงอยู่ที่ตัวคอมพิวเตอร์เพราะคอมพิวเตอร์นั้นทำให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับข้อความ ภาพ และเสียงที่เห็นและได้ยินได้ อีกนัยหนึ่งมัลติมีเดียมีสมรรถนะในการโต้ตอบ (Interactivity) ในขณะที่โทรทัศน์ไม่มีความสามารถนี้ เดิมทีนั้นการใช้คอมพิวเตอร์จำกัดอยู่แต่เพียงการคำนวณตัวเลขข้อมูลต่างๆ ต่อมาก็ได้ขยับขยายไปสู่การประมวลคำ (Word Processing) ซึ่งก็คือการพิมพ์เอกสารรายงาน จดหมายต่างๆ อันเป็นงานที่เราใช้มาจนกระทั่งทุกวันนี้ ต่อมาอีกก็มีผู้คิดนำภาพมาเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อบรรณาธิกรภาพที่เก็บไว้นั้น เช่น นำภาพมาตัดต่อ ขยาย ย่อ เปลี่ยนสเกล ฯลฯ เมื่อนำมาผนวกกับงานประมวลคำก็ทำให้เกิดงานใหม่ที่เรียกว่า งานพิมพ์ตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing) อันเป็นงานที่สำนักพิมพ์ทั้งหลายจำเป็นต้องนำมาใช้ มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถแข่งกับผู้อื่นได้ ถัดจากภาพนิ่งสำหรับพิมพ์ ก็มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์สร้างเสียงต่างๆ รวมถึงเสียงดนตรี ในตอนแรกก็เป็นเสียงหยาบๆ ไม่น่าฟัง ต่อมาก็มีผู้พัฒนาแผ่นวงจรเสียงขึ้นใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถสร้างเสียงเครื่องดนตรีแบบต่างๆ ได้อย่างไพเราะ ในขณะเดียวกันก็มีผู้สนใจใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) ขึ้นในคอมพิวเตอร์ด้วย

:: สื่อการสอน ::

สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดีเอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้ และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาความคิดของ Bruner ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นำมาสร้างเป็น "กรวยประสบการณ์" (Cone of Experiences) โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

1. ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น

2. ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้

3.ประสบการณ์นาฏกรรม หรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น

5. การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ เป็นต้น

6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด

7. โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษา และโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน

8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิลม์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพ และเสียงโดยใช้ประสาทตา และหู

9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียน ที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้

10. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ

11. วาจาสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด

สื่อการสอนไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ผู้สอนอาจจะใช้สื่อครั้งละชนิดเดียว หรืออาจจะใช้สื่อหลาย ๆ ชนิดร่วมกันในลักษณะของ สื่อประสม หรือสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) ก็ได้ แต่สื่อการสอนจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมีการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม ซึ่งมีหลักการพิจารณา ดังนี้

1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียน และจุดมุ่งหมายที่จะสอน

2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่ส่งผลต่อการเรียนรู้มากที่สุด

3. เป็นสื่อที่เหมาะกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน

4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ วิธีใช้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเกินไป5. ป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนเป็นจริง6. มีราคาไม่แพงเกินไป หรือถ้าจะผลิตควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สันติภาพ ศรัทธา ความรัก และความหวัง


เทียนสี่เล่ม


เปลวเทียนทั้ง 4 เล่ม ค่อยๆ พลิ้วไหวไปอย่างช้าๆ

บรรยากาศรอบข้าง ช่างแผ่วเบายิ่งนัก

หากเราเงี่ยหูฟัง จะได้ยินเทียนทั้งสี่สนทนากัน . . .


เทียนเล่มแรก เอ่ย "ฉันคือ สันติภาพ น่าเศร้าเหลือเกิน

ทุกวันนี้ ไม่มีใครอยากให้ฉัน สว่างไสว"

แสงของ "สันติภาพ" ค่อยๆ ริบหรี่ และ ดับไป


เทียนเล่มที่สอง เอ่ย "ฉันคือ ศรัทธา น่าเศร้าหนักหนา

ทุกวันนี้ ไม่มีใครต้องการ" แสงของ "ศรัทธา"

ค่อยๆ ริบหรี่ และ ดับไป


เสียงเอ่ยขึ้นมาอย่างเศร้าใจ เทียนเล่มที่สาม กล่าว

"ฉันคือ ความรัก ฉันไม่เข้มแข็งพอ ที่จะส่องสว่างต่อไป"

"ผู้คนเพิกเฉยและไม่เห็นค่าของฉัน แม้แต่คนใกล้ชิด พวกเขายังไม่คิดจะเติมรักให้แก่กัน"

ว่าดังนั้น พลัน "ความรัก" ก็ดับไป


ไม่ช้าไม่นาน...เด็กน้อยคนหนึ่งได้เดินเข้ามา

เมื่อพบเทียนสามเล่มดับไป เขาเริ่มร่ำไห้และหลั่งน้ำตา

"ทำไมพวกเธอถึงดับไป พวกเธอต้องสว่างไสวตราบนิรันดร์ไม่ใช่หรือ"


ทันใด เทียนเล่มที่สี่ กระซิบอย่างแผ่วเบา

"อย่ากลัวไปเลยหนูน้อย ตัวฉันนี้คือ ความหวัง ตราบใดที่ฉันยังส่องสว่างอยู่ได้

เทียนสามเล่มนั้น จะกลับมาไม่ช้านาน"

เด็กชายตัวน้อย ตาเป็นประกายด้วยความปิติ

สองมือนั้นค่อยๆ จุด "เทียนแห่งความหวัง" พร้อมกันกับเทียนอีกสามเล่ม


อย่าปล่อยให้ "แสงแห่งความหวัง" ในชีวิตเราดับไป

ไม่ว่าสิ่งต่างๆ จะเลวร้ายหรือแย่สักแค่ไหน

เมื่อเรามี ความหวัง แล้วไซร้ . . .

สันติภาพ ศรัทธา และ ความรัก ก็จะส่องสว่างอยู่ในตัวเราเสมอ